สัญญาพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับบริษัท SME


Contracts Agreement's required for SME

สัญญาพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับบริษัท SME

 

“ปิดจุดอ่อนสัญญาธุรกิจ! กับ 4 สัญญาสำคัญ ที่ SME ควรรู้ก่อนเริ่มธุรกิจ”

      ในปัจจุบันมีกลุ่มคนทำงานที่ตัดสินใจหันหลังให้กับงานประจำที่จำเจและน่าเบื่อหน่าย ไม่เป็นอิสระ หรือกลุ่มคนที่ตระหนักว่างานที่ตนทำไม่ได้ตอบสนองทางการเงินให้ได้เพียงพอ จึงต้องเพิ่มรายได้ด้วยการมีงานที่สอง หรือ Second Job หรือแม้แต่นักศึกษาที่ประสงค์ทำงานที่มีอิสระ จัดการเวลาของตนเองได้ ไม่อยากอยู่ภายใต้กรอบบางอย่างของงานประจำ พวกเขาเหล่านี้จึงหันมาเปิดธุรกิจเป็นของตนเอง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง มักเรียกว่ากันว่า ธุรกิจ SME ที่เหมาะสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจเพื่อแข่งขันในตลาดและมีความเสี่ยงต่ำ

สำหรับการดำเนินธุรกิจใน SME ต้องคำนึงทั้งการหาสถานที่ตั้งอาคารสำนักงาน หาเงินลงทุน การทำธุรกรรมต่างๆ เช่น ซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ขายสินค้าให้กับลูกค้า และอื่นๆอีกมากมาย ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงอยากชวนให้ผู้อ่านได้รู้จักกับสัญญาเบื้องต้น ที่มักพบเจอในการประกอบธุรกิจ โดยผู้เขียนจะกล่าวถึงในหลักเกณฑ์การทำสัญญา ข้อควรระวังต่างๆ ในแง่มุมของกฎหมาย ที่จะช่วยให้ผู้อ่านปลอดภัยจากข้อพิพาทซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ประกอบไปด้วย

  • สัญญากู้ยืมเงิน
  • สัญญาเช่าทรัพย์
  • สัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ
  • สัญญาซื้อขายสินค้าหรือบริการ
  • ข้อตกลงรักษาความลับทางการค้า

 สัญญากู้ยืมเงิน

         โดยหลักการกู้เงิน ไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆเป็นพิเศษ เพียงแค่เอ่ยวาจาขอยืมเงินกันก็ได้ สัญญาย่อมสมบูรณ์แล้ว แต่ไม่สามารถฟ้องร้องต่อศาลหากมีการบิดเบี้ยวไม่คืนเงินเท่านั้น ดังนั้น หากต้องการใช้สิทธิฟ้องศาล เพื่อเป็นการป้องกันการบิดเบี้ยวไม่คืนเงินหรือการเรียกเงินซ้ำสองครั้ง จึงต้องปฏิบัติหลักเกณฑ์ดังนี้ หากกู้เงินจำนวนมาก ซึ่งมากกว่า 2,000 บาทขึ้นไป จะต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ กล่าวคือ การมีเอกสารที่มีข้อความปรากฎว่าได้กู้ยืมเงินกันจริง เช่น การเขียนหรือพิมพ์ใส่กระดาษสักแผ่นนึง เป็นต้น โดยมีการลงลายมือชื่อของผู้ยืม จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับเงินตามสัญญากู้ได้ นอกจากนี้ การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนี้การจะแสดงว่าผู้กู้ได้คืนเงินแล้วจริง ต้องแสดงให้เห็นว่า มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมว่าได้คืนเงินแล้ว หรือ มีเอกสารหลักฐานในการกู้ยืมที่ได้เวนคืนมาที่ตนแล้ว หรือ ได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารหลักฐานดังกล่าวแล้ว กล่าวคือ มีการขีดฆ่าข้อความที่แสดงว่ากู้เงินกัน หรือ ระบุข้อความว่ามีการชำระหนี้เงินกู้กันแล้ว เพียงเท่านี้ ก็ไม่ต้องกังวลการถูกเรียกให้ชำระเงินกู้ซ้ำสองครั้งอีก

         เรื่องดอกเบี้ย ถ้าไม่มีการตกลงอัตราดอกเบี้ยกันไว้ระหว่างผู้กู้กับผู้ให้กู้ กฎหมายก็ให้คิดในอัตรา 3% ต่อปี แต่หากตกลงกันไว้ ก็ให้คิดไปตามที่ตกลงกัน แต่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกิน 15% ต่อปี หากตกลงเกินอัตราดังกล่าว จะไม่สามารถเรียกให้ผู้กู้ชำระดอกเบี้ยส่วนที่เกินจาก 15% ได้ ดังนั้น ผู้อ่านจึงต้องระวังเรื่องดอกเบี้ยให้ดี หากหลงไปจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่ผิดกฎหมายแล้ว จะไม่สามารถเรียกคืนได้อีก

สัญญาเช่าสถานประกอบกิจการ

         สัญญาเช่าสถานประกอบกิจการ การเช่าสถานที่ไม่ว่าจะเป็นที่ดินหรืออาคารสำนักงาน ล้วนเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น แม้จะไม่มีแบบหรือหลักเกณฑ์ใดๆ เพียงตกลงกันด้วยวาจาก็สมบูรณ์ แต่ก็ควรปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ เพื่อใช้สิทธิทางศาลหากเกิดปัญหาในอนาคตได้ โดยต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือขึ้นมาว่าที่การเช่ากันจริง และลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หากผู้อ่านจะเช่าอาคารเพื่อประกอบธุรกิจ ก็ควรให้ผู้ให้เช่าลงลายมือชื่อในสัญญาด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ตนถูกขับไล่หรืออ้างว่าตนไม่มีสิทธิเช่าในอาคารนั้นนั่นเอง แต่อย่างไรก็ดี ถ้าประสงค์จะเช่าเกิน 3 ปีขึ้นไป หรือระยะเวลาเท่าที่ผู้เช่าหรือผู้ให้เช่ามีชีวิตอยู่ ก็ต้องทำเป็นหนังสือสัญญาเช่าที่มีลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย คือทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่า และไปจดทะเบียนไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้น จะฟ้องร้องได้เพียงในระยะเวลา 3 ปีแรกเท่านั้น

        ข้อสังเกต การเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น จะเช่าเกิน 30 ปีไม่ได้ หากตกลงไว้เกิน 30 ปี ก็จะมีผลเพียง 30 ปีเท่านั้น และเมื่อมีการตกลงระยะเวลาการเช่ากันไว้ เมื่อครบกำหนดแล้ว หากผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินต่อไปตามปกติ และผู้ให้เช่าก็ทราบแล้วครบกำหนดเวลาแล้วแต่ไม่ทักท้วงให้ผู้เช่าออกไป กฎหมายจะถือว่าทั้งสองได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลานั่นเอง

        นอกจากนี้ผู้อ่านต้องพึงระวังการอ้างของผู้ที่ได้รับซื้ออาคารที่ผู้อ่านเช่าอยู่ว่าท่านไม่มีสิทธิเช่าต่อไป เพราะแท้จริงท่านยังมีสิทธิเช่าตามสัญญาเช่า แม้ผู้ให้เช่าจะโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิความเป็นเจ้าของให้แก่ผู้อื่นแล้วก็ตาม

สัญญาจ้างแรงงาน/จ้างทำของ

         ก่อนอื่นต้องขออธิบายเพิ่มเติมในส่วนสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของสัญญาทั้งสองนี้ไม่ได้เหมือนกัน….

หากผู้อ่านประสงค์จัดหาคนมาเป็นลูกจ้างทำงานให้กับท่าน โดยอยู่ภายใต้บังคับบัญชาที่ท่านมีอำนาจสั่งการหรือควบคุมการทำงานของเขาได้ และท่านจะจ่ายค่าจ้างหรือค่าแรงให้กับบุคคลนั้น เช่น จ้างพนักงานมาเสิร์ฟอาหาร ก็ต้องทำสัญญาจ้างแรงงาน  แต่หากประสงค์ให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้รับจ้างทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นจนสำเร็จให้ท่านและท่านตกลงให้ค่าจ้างกับบุคคลนั้น เช่น จ้างโรงงานผลิตสินค้า ก็ต้องทำสัญญาจ้างทำของ 

โดยทั้งสองสัญญาดังกล่าว ไม่มีหลักเกณฑ์ในการทำสัญญาใดๆขึ้น เพียงการพูดคุยตกลงกันก็นับเป็นการจ้างแรงงานหรือจ้างทำของแล้ว และสามารถฟ้องร้องคดีกันได้ แต่ผู้เขียนก็ขอแนะนำว่าควรให้ทำเอกสารสัญญาขึ้นเป็นหลักฐานจะดีต่อทั้งนายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง แล้วแต่กรณี เพื่อให้ลูกจ้างหรือผู้รับจ้างมั่นใจว่าทำการงานไปแล้วจะได้รับค่าตอบแทน และนายจ้างหรือผู้ว่าจ้างก็เชื่อใจว่าลูกจ้างหรือผู้รับจ้างจะทำงานให้ตนอย่างซื่อสัตย์สุจริตและเต็มที่สมกับค่าจ้าง ทั้งยังมีประโยชน์ในการนำสืบในชั้นศาลได้อีกด้วย

สัญญาซื้อขายสินค้า/บริการ

       สัญญาซื้อขายสินค้า/บริการ สัญญาซื้อขายสินค้าหรือบริการ ก็จะพบในธุรกิจที่ต่างกัน หากเป็นธุรกิจที่ขายบริการ เช่น ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การจัดทำหรือตรวจสอบบัญชี ร้านตัดผม การตัดต่อคลิปวิดีโอ ซึ่งเป็นการให้บริการที่เป็นแรง เป็นองค์ความรู้ หรือความสามารถ ไม่ใช่ตัววัตถุที่เป็นสินค้า เฉกเช่นการขายสินค้าโดยทั่วไป จึงต้องทำตามสัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของตามที่กล่าวไปแล้ว ไม่ใช่สัญญาซื้อขายที่ผู้เขียนกำลังจะกล่าวต่อไป สำหรับธุรกิจซื้อขายสินค้า ไม่ว่าผู้อ่านจะขายสินค้าของตนให้กับลูกค้าหรือซื้อวัตถุดิบ ส่วนประกอบต่างๆ เพื่อทำเป็นสินค้าของตนเองก็ตาม ย่อมต้องใช้สัญญาซื้อขาย ถ้าเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น ซื้อขายที่ดิน กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือสัญญา โดยลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย คือทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ซื้อขายที่ดินก็นำไปจดทะเบียนที่กรมที่ดิน เป็นต้น มิฉะนั้น สัญญาจะเป็นโมฆะ ไม่เกิดสัญญาดังกล่าวขึ้นเลย หากชำระเงินไป ก็สามารถเรียกคืนได้ แต่ไม่การันตีว่าจะได้คืนครบทั้งหมด เพราะกฎหมายให้คืนเท่าที่มีอยู่ในขณะเท่านั้น หรือหากครอบครองที่ดินแล้ว ก็สามารถไล่ให้ออกไปได้ ทั้งนี้ ต้องระวังหากมีการให้ครอบครองที่ดินยาวนานจนครบ 10 ปี ผู้ครอบครองก็อาจได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนนั้นไปโดยเจ้าของที่ดินไม่รู้ตัว ผู้เขียนจึงชี้ให้เห็นถึงผลที่ตามมาดังกล่าว เพื่อให้ผู้อ่านระมัดระวังให้ดีนั่นเอง นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวยังต้องใช้กับการทำสัญญาซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ซื้อขายแพที่ใช้อยู่อาศัย และซื้อขายสัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า เป็นต้น ส่วนสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ เช่น ขายผักผลไม้ตามตลาดนัด ซื้ออะไหล่มาซ่อมรถยนต์ ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือใดๆ เพียงแค่เอ่ยวาจาให้ตกลงกันว่าจะซื้อขายสินค้าก็เพียงพอ และหากมีข้อพิพาทกันก็สามารถฟ้องร้องต่อศาลได้ ซึ่งเรามักเห็นและทำกันอยู่ประจำเวลาเดินซื้อของตามตลาดนัด ซึ่งเป็นของราคาไม่แพงนัก เราก็ไม่ได้ต้องถือปากกาหรือเอากระดาษเพื่อทำสัญญากันแต่อย่างใด แต่หากเป็นสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาแพง โดยราคาตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด จึงจะฟ้องบังคับตามสัญญาได้ เช่น หากจะฟ้องผู้ซื้อว่าไม่ชำระราคา ก็ต้องมีลายมือชื่อผู้ซื้อปรากฏอยู่ เป็นต้น ผู้เขียนจึงแนะนำว่าควรให้ลงลายมือชื่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขายก็จะดีที่สุดนั่นเอง อย่างไรก็ดี อาจมีทางเลือกเพิ่มเติมอีกสองวิธีที่สามารถฟ้องร้องคดีได้ แม้ไม่มีหลักฐานก็ตาม คือ มีการวางประจำไว้ ที่เราคุ้ยเคยคำว่า วางมัดจำ นั่นเอง หรือมีการชำระหนี้ไปบางส่วนแล้วก็ได้

           โดยหลักเกณฑ์การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ราคาแพงที่ผู้เขียนได้กล่าวเมื่อสักครู่ ยังใช้กับการทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือคำมั่นในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เรือระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพที่อยู่อาศัย และสัตว์พาหนะ ซึ่งผู้เขียนขออธิบายในเบื้องต้นว่า สัญญาจะซื้อจะขาย คือเป็นสัญญาที่ตกลงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในภายหลัง หรือคำมั่นว่าจะซื้อ คือ การกระทำที่แสดงออกไปเพื่อผูกพันตนเองว่าจะซื้อหรือจะขาย ซึ่งจะมีผลต่อเมื่อผู้ซื้อหรือผู้ขายตอบตกลง 

ข้อตกลงรักษาความลับทางการค้า

เป็นเรื่องที่สามารถตกลงกันได้ โดยเกิดได้ในหลายบริบท ทั้งการร่วมทุน ควบรวมกิจการ หรือโดยเฉพาะการทำสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งมักพบในธุรกิจ SME ซึ่งมีขนาดเล็กที่เริ่มกิจการได้ไม่นานนัก ก็สามารถตกลงไม่ให้ลูกจ้าง เปิดเผยข้อมูลภายในที่อาจกระทบต่อการแข่งขันทางการค้าได้ เช่น สูตรอาหาร วิธีทำอาหารที่เฉพาะตัว เป็นต้น           

บทสรุป

      บทความนี้มุ่งนำเสนอหลักเกณฑ์พื้นฐานในการทำสัญญาสำหรับบริษัท SME เพื่อให้ผู้อ่านสามารถตรวจสอบสัญญาได้อย่างรอบคอบ ป้องกันการเอาเปรียบ และทำให้สัญญามีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม บทความนี้ไม่ได้ครอบคลุมรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับเนื้อหาของสัญญา สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย หรือเงื่อนไขการสิ้นสุดสัญญา ดังนั้น ผู้อ่านควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าว หรือปรึกษาทนายความเพื่อคำแนะนำที่ละเอียดยิ่งขึ้น

สัญญาพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับบริษัท SME

Contracts Agreement’s required for SME สัญญาพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับบริษัท SME   “ปิดจุดอ่อนสัญญาธุรกิจ! กับ 4 สัญญาสำคัญ ที่ SME ควรรู้ก่อนเริ่มธุรกิจ”       ในปัจจุบันมีกลุ่มคนทำงานที่ตัดสินใจหันหลังให้กับงานประจำที่จำเจและน่าเบื่อหน่าย ไม่เป็นอิสระ หรือกลุ่มคนที่ตระหนักว่างานที่ตนทำไม่ได้ตอบสนองทางการเงินให้ได้เพียงพอ จึงต้องเพิ่มรายได้ด้วยการมีงานที่สอง หรือ Second Job หรือแม้แต่นักศึกษาที่ประสงค์ทำงานที่มีอิสระ จัดการเวลาของตนเองได้

Read More »

ทำไมทุกคนถึงควรวางแผนเกษียณอายุตั้งแต่อายุยังน้อย และอย่างไร?​

Why Everyone Should Plan for Retirement at Young Age and How? ทำไมทุกคนถึงควรวางแผนเกษียณอายุตั้งแต่อายุยังน้อย และอย่างไร? “การวางแผนเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อย เสมือนการปลูกต้นไม้ที่ให้ร่มเงาในอนาคต”   เมื่อพูดถึงคำว่า “เกษียณอายุ” หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนมีอายุไม่จำเป็นต้องรีบไตร่ตรอง แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องร่างกาย จิตใจ สังคม ตลอดจนทั้งเรื่องการเงิน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก 

Read More »

Why Family Businesses Should Have a Good Backend Management System

ทำไมธุรกิจครอบครัวต้องมี ‘ระบบจัดการหลังบ้านที่ดี’? ในยุคที่ธุรกิจมีการแข่งขันสูงและต้องการการเติบโตอย่างยั่งยืน ธุรกิจครอบครัว หรือ ธุรกิจแบบเถ้าแก่ จึงไม่สามารถทำทุกอย่างด้วยตัวเองได้อีกต่อไป การมี ระบบจัดการหลังบ้านที่ดี เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินการได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ทำไมต้องมีระบบจัดการ? การขยายสาขาเมื่อธุรกิจเติบโตและต้องการขยายสาขา การทำงานด้วยตัวเองทั้งหมดจะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป การนำระบบต่างๆ มาใช้ เช่น ระบบจัดซื้อ ระบบสต็อก ระบบการขาย ระบบการผลิต การตลาด ระบบบัญชี หรือแม้แต่ระบบ HR จะช่วยให้การบริหารจัดการเป็นไปได้สะดวกขึ้น

Read More »

What is Key Man Insurance? How to comply with the Revenue Department?

Key Man Insurance คืออะไร? ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักสรรพากร? ในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การมี ประกันคีย์แมน (Key Man Insurance) เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้บริษัทสามารถปกป้องตนเองจากความเสี่ยงที่เกิดจากการสูญเสียบุคคลสำคัญที่ขับเคลื่อนองค์กร เช่น กรรมการหรือผู้บริหารระดับสูง ประกันคีย์แมนคืออะไร? ประกันคีย์แมน เป็นการทำประกันชีวิตสำหรับบุคคลที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ ซึ่งในกรณีที่บุคคลนั้นเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น เสียชีวิตหรือไม่สามารถทำงานได้ บริษัทจะได้รับเงินก้อนจากบริษัทประกัน เพื่อช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยไม่ประสบปัญหาทางการเงิน วิธีทำประกันคีย์แมนให้ถูกต้องตรงใจสรรพากร เพื่อให้การทำประกันคีย์แมนเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักสรรพากร

Read More »

What is a CFO? What is the scope of measurement?

CFO คืออะไร? มีขอบเขตการวัดอย่างไร? ในยุคที่ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกองค์กร CFO (Carbon Footprint for Organization) หรือ คาร์บอนฟุตพริ้นต์ขององค์กร คือเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบและวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์กร ทำไม CFO ถึงสำคัญ? CFO เป็นข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าใจผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และวางแผนเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การทำ CFO ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร โดยแสดงถึงความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ

Read More »

Why do organizations need to conduct risk assessment (Risk Management)?

ทำไมองค์กรต้องประเมินความเสี่ยง (Risk Management)? การประเมินความเสี่ยงเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการความไม่แน่นอนและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินธุรกิจ การเงิน กฎหมาย หรือความปลอดภัย การจัดการความเสี่ยงที่ดีจะช่วยให้องค์กรสามารถรับมือและตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างเหมาะสม ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง ลดโอกาสการเกิดความผิดพลาดและความเสียหายการประเมินความเสี่ยงช่วยให้องค์กรสามารถระบุและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า ซึ่งช่วยลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดหรือความเสียหายที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน รักษาความสม่ำเสมอในการดำเนินงานด้วยการจัดการความเสี่ยงอย่างมีระบบและต่อเนื่อง องค์กรสามารถควบคุมผลกระทบและลดความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่วางแผนไว้ เสริมสร้างความเชื่อมั่นในองค์กรเมื่อองค์กรมีการประเมินและจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ผู้ถือหุ้น หรือพันธมิตรทางธุรกิจ ว่าผลการดำเนินงานจะเป็นไปตามแผนที่กำหนด สนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ข้อมูลจากการประเมินความเสี่ยงช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างรอบคอบและมีข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอเพื่อลดความเสี่ยงในระยะยาว เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรการประเมินความเสี่ยงช่วยให้องค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Mayade Consulting