Why Would A Business Want to Implement SAP

"ชุดแอปส่วนต่างๆ เหล่านั้นจะสามารถรวมเข้าด้วยกันจากการใช้งานซอฟต์แวร์ SAP"

ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นกระดูกสันหลังหลักของการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ แต่ทุกวันนี้ คุณมีกระบวนการในการจัดการอย่างไร? แน่นอน คุณกำลังใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์รุ่นเก่ามากมายและแอประบบคลาวด์เพื่อจัดการกับขั้นตอนต่างๆ

แต่ซอฟแวร์เหล่านี้มีการเชื่อมโยงถึงกันและทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นหรือไม่? ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ และคุณไม่ใช่เป็นเพียงผู้เดียวที่ดิ้นรนเพื่อที่จะสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจแบบครบวงจรที่สามารถตอบสนองความต้องการในปัจจุบันของคุณทั้งหมด จากการสำรวจล่าสุด องค์กรส่วนใหญ่จะใช้:

  • 90 บริการคลาวด์สำหรับฟังก์ชัน HCM
  • 60 เครื่องมือสำหรับการเงิน/การบัญชี
  • 43 เครื่องมือสำหรับ CRM/การขาย
  • 41 บริการสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์

ตัวเลขเหล่านี้อาจดูน่าตกใจ แต่ถ้ามาลองคิดดูแล้ว แต่ละแผนกได้จัดซื้อ และ/หรือ พัฒนาโซลูชันซอฟต์แวร์ของตนเองและดำเนินการอย่างเป็นอิสระจากแผนกอื่นๆ ภายในแผนก และอาจมีซอฟต์แวร์ที่แยกออกมาต่างหากสำหรับงานบางประเภท – ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้ถูกรวมเข้ากับโครงสร้างส่วนที่เหลือ

อาจถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องตรวจสอบเครื่องมือของคุณและพิจารณาโซลูชัน ERP ที่มีความครอบคลุมกันสักที โดยเฉพาะชุดโมดูลซอฟแวร์ที่จะสามารถรวบรวมและควบรวมการดำเนินงานต่างๆ ของธุรกิจของคุณ ซึ่งชุดแอปส่วนต่างๆ เหล่านั้นจะสามารถรวมเข้าด้วยกันจากการใช้งานซอฟต์แวร์ SAP

ทำไมธุรกิจควรที่จะนำ SAP ไปใช้: หนึ่งตัวอย่าง

หากเรามาลองพิจารณาถึงความท้าทายอันใหญ่โตที่ธุรกิจที่ทำการผลิตสินค้าอาจต้องเผชิญ

ภายในขอบเขตของการดำเนินการด้านโลจิสติกส์ มักจะประกอบด้วยส่วนงานหลายประการ เช่น การบริหารจัดการวัสดุ การขายและการกระจาย การบริหารจัดการคลังสินค้า การบริการลูกค้า และการบริหารจัดการยานพาหนะ เป็นต้น ซึ่งแต่ละแผนกเหล่านี้อาจมีเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการดำเนินงานของตนเอง แล้วแผนกเหล่านี้สื่อสารกันอย่างไรเพื่อให้ข้อมูลถูกควบรวมเข้าด้วยกัน และสามารถนำไปวิเคราะห์และสามารถใช้ในตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีโดยใช้ข้อมูลนั้น

โซลูชัน SAP ที่รวมส่วนงานทั้งหมดเหล่านี้จะสามารถให้ข้อมูลเหล่านี้ได้ พร้อมกับการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เมื่อรวมฟังก์ชันทั้งหมดเหล่านี้แล้ว การตัดสินใจที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้:

  • การใช้งานแพลตฟอร์มแบบบูรณาการเดียว และการได้รับการสนับสนุนในการลด TCO สำหรับการใช้อย่างเต็มที่
  • การสะดุดของงานเนื่องจากการขาดสต็อกสินค้าน้อยลง และส่งผลให้สูญเสียในการการขายลดลง (รายได้เพิ่มขึ้น)
  • กระบวนการจัดซื้อวัสดุที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้มากขึ้น ที่มาพร้อมกับการประหยัดต้นทุนและความล่าช้าในการผลิตน้อยลง
  • ความพึงพอใจของลูกค้าดีขึ้นเนื่องจากความล่าช้าในการส่งมอบสินค้าน้อยลง
  • ลดค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้าและค่าขนส่ง

ธุรกิจของคุณอาจไม่ได้อยู่ในกลุ่มภาคส่วนการผลิต แต่มันก็มีโมดูล SAP สำหรับการดำเนินธุรกิจแทบทุกรูปแบบที่จะสามารถนำมาปรับปรุงความยืดหยุ่นและการบูรณาการอย่างเต็มรูปแบบของการดำเนินงานเหล่านั้น พริ้มทั้งยังให้ทั้งประสิทธิภาพและการประหยัดต้นทุนในทุกขั้นตอนของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์

ข้อได้เปรียบอีกประการหนึ่งของซอฟต์แวร์ SAP ก็คือ แต่ละธุรกิจสามารถนำโมดูลที่จำเป็นต่อธุรกิจของตนมาใช้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งทั้งระบบ ซึ่งเป็นโซลูชันที่สามารถปรับแต่งได้เองตามรูปแบบของธุรกิจนั้นๆ

SAP เสนอโซลูชั่นอะไรบ้าง?

ระบบ SAP เต็มรูปแบบประกอบด้วยโมดูลหลักต่อไปนี้ ที่อยู่นอกเหนือจากโมดูลลอจิสติกส์ที่อธิบายไปแล้วข้างต้น แต่ละโมดูลจะมีส่วนช่วยในการจัดการกับความท้าทายของการดำเนินธุรกิจเฉพาะ แม้ว่าจะมีโซลูชันเพิ่มเติมที่จะสามารถนำมาทำการปรับแต่ง:

  • การวางแผนทรัพยากรองค์กร
  • CRM สำหรับการขายและการตลาด
  • การขายและการกระจายสินค้า
  • การบริหารจัดการการเงิน
  • ทรัพยากรมนุษย์
  • การบริหารจัดการสินทรัพย์
  • การบริหารจัดการวงจรชีวิตสินค้า
  • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

SAP มีโซลูชั่นเฉพาะอุตสาหกรรมสำหรับเกือบทุกภาคส่วน – ทั้ง การผลิต เภสัชกรรม การแพทย์ ประกันภัย การรักษาความปลอดภัย การเงิน ฯลฯ ควบคู่ไปกับความสามารถในการซื้อโมดูลเฉพาะที่ “พอดี” เป็นข้อได้เปรียบที่สำคุญที่สุดสองประการของ SAP สำหรับธุรกิจทุกประเภทและขนาด

ใครใช้โซลูชั่น SAP บ้าง?

ธุรกิจเกือบ 200,000 แห่งใช้โมดูล SAP บางส่วนหรือทั้งชุดในกว่า 150 ประเทศ แม้ว่ามักจะเป็นความเชื่อทั่วไปว่ามีเพียงองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นที่ใช้ซอฟต์แวร์ SAP แต่แท้จริงแล้ว ประมาณ 80% ของธุรกิจที่นำมาใช้เป็นธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง

แน่นอนว่าความสำเร็จของโซลูชัน SAP นั้นจะวัดจากผลกำไรของบริษัท และผลกำไรนั้นคือผลลัพธ์จากประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น การตัดสินใจทางธุรกิจที่ดีขึ้น และการดำเนินงานที่คล่องตัวมากขึ้น

สำหรับบริษัทขนาดกลาง เช่น Schoolhouse Electric and Supply ซึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกสินค้าเกี่ยวกับบ้านและแสงไฟ อัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อปีที่ 25% เป็นข้อพิสูจน์ที่เพียงพอ นาย Chris Tufts รองประธานฝ่ายปฏิบัติการและการเงินกล่าวว่า “หากไม่มีระบบ (SAP) เราก็จะไม่สามารถเป็นผู้นำได้ที่มีศักยภาพในการแข่งขันได้ และจะไม่สามารถดำเนินการตามคำสั่งซื้อได้ด้วยความรวดเร็วได้อย่างที่เราเป็นอยู่ในปัจจับัน มันทำมากกว่าทำให้เกิดการเติบโต มันทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจของเราเป็นไปได้อย่างที่เราต้องการ”

บริษัท Siemens เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่ให้บริการโซลูชั่นเทคโนโลยีแก่อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การก่อสร้าง พลังงาน การแพทย์ การขนส่ง เป็นต้น ความท้าทายของบริษัทคือ การรวบรวมและทำให้กระบวนการที่ซับซ้อนและไม่ปะติดปะต่อกันภายในองค์กรง่ายขึ้น ผู้บริหารยังต้องการเร่งกระบวนการและการเข้าถึงข้อมูลที่จะเป็นข้อมูลที่จะนำมาใช้ประกอบในกระบวนการตัดสินใจ

Siemens ได้หันไปใช้โซลูชัน SAP และเพิ่งย้ายไปยังแพลตฟอร์ม SAP HANA ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Microsoft Azure ได้อย่างราบรื่นเพื่อประโยชน์เพิ่มเติม Andreas de la Camp หัวหน้าสายงานยุโรป ศูนย์กลางแผนก ERP กล่าวว่า SAP ได้มีส่วนช่วยให้ประสิทธิภาพขององค์กรเพิ่มขึ้นอย่างมากผ่านกระบวนการที่รวดเร็วยิ่งขึ้นและข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งได้ลดต้นทุนสำหรับทั้งศูนย์ฮาร์ดแวร์และศูนย์ประมวลผลข้อมูล รวมถึงได้ปรับปรุงกระบวนการบูรณาการทางธุรกิจและความต่อเนื่อง

เขากล่าวว่า “SAP HANA ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของเรา และทำให้เรามีความคล่องตัวและพลังการประมวลผลที่เราต้องการเพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ๆ ในโลกดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด” ในแง่ของการดำเนินงานที่ได้รับการปรับปรุง Siemens ได้รายงานถึงการลดขนาดของฐานข้อมูลลง 24% ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น 60% และประสิทธิภาพการรายงานที่รวดเร็วขึ้น 90 เท่า

หากคุณต้องการทำความเข้าใจว่าทำไมบริษัทต่างๆ ถึงใช้ SAP สถิติเหล่านี้น่าจะเป็นข้อพิสูจน์ที่ดี

การนำ SAP มาใช้: กุญแจสำคัญที่อาจนำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลว

เห็นได้ชัดว่า เมื่อมีการตัดสินใจที่จะนำโซลูชันซอฟต์แวร์ SAP มาใช้แล้ว การนำไปใช้งานจะเป็นกระบวนการที่ไม่สามารถเกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน ความพยายามที่จะนำมาปรับใช้และในเวลาอันรวดเร็วเกินไปโดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญเป็นสูตรสำเร็จที่จะนำไปสู่ความล้มเหลว

เราลองมาพิจารณาการใช้งานที่แตกต่างกันสองแบบภายในสองอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งได้แก่ บริษัท Cadbury บริษัทผลิตช็อกโกแลตในประเทศอังกฤษ และ Hershey บริษัทลูกกวาดสัญชาติอเมริกัน ทั้งสองบริษัทได้ระบุว่า SAP เป็นโซลูชันสำหรับแก้ประเด็นปัญหาต่างๆ – โดยหลักๆ แล้วเป็นปัญหาด้านคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง การขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายสินค้าไปยังผู้ค้าปลีก และกระบวนการทางธุรกิจที่ล่าช้า

Cadbury ได้เปิดตัวโครงการสำหรับการควบรวม SAP ERP ในช่วงระยะเวลาห้าปี ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดระบบการจัดการคลังสินค้าแบบใหม่และการปรับปรุงโครงสร้างให้กับศูนย์กระจายสินค้า

แม้ว่าคำแนะนำสำหรับ Hershey จะใช้เวลาประมาณ 5 ปี เช่นกัน แต่บริษัทก็ยืนกรานที่จะให้เวลา 2.5 ปี ซึ่งเป็นการทำให้กำหนดเวลาสั้นลงไปครึ่งหนึ่ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ บริษัทได้ตัดทอนกิจกรรมการทดสอบระบบและกระบวนการย้ายออกไปทั้งหมด และยังได้ทำการเปลี่ยนระบบในช่วงเวลาที่ยุ่งที่สุดของปี – ซึ่งเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ มันได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการกระจายสินค้าและทำให้ชื่อเสียงของ Hershey เสื่อมเสียและส่งผลให้มูลค่าหุ้นลดลง

ขั้นตอนการเริ่มดำเนินการเป็นสิ่งสำคัญอย่างชัดเจน ความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง รวมถึงการปรึกษาหารืออย่างรอบคอบตามความต้องการและเป้าหมายของบริษัทจะต้องเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการนำแผนการดำเนินงานใดๆ มาใช้

โดยทั่วไปแล้ว ควรมีการพิจารณาวงจรชีวิตโครงการตามขั้นตอนการใช้งานต่อไปนี้:

รูปที่ 1. การนำ SAP S/4HANA มาใช้ร่วมกับ SAP Activate

SAP Activate เป็นวิธีการใหม่ในการนำระบบ SAP S/4HANA ไปใช้ ซึ่งนอกจากได้มีนำกระบวนการบางอย่างจากวิธีการ Accelerated SAP และ SAP Launch แบบเดิมแล้ว ยังได้มีการนำตัวเร่งใหม่สำหรับแต่ละขั้นตอนการใช้งานและกระบวนการของงานอีกด้วย SAP Activate ได้ทำการปรับแนวทางการใช้งานอย่างละเอียดให้มีความราบรื่นยิ่งขึ้นสำหรับการปรับไปใช้งานบนระบบคลาวด์ รวมถึงในสถานที่ขององค์กร และแบบไฮบริด ซึ่งเป็นการตั้งค่าที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้อยู่ในปัจจุบัน การดำเนินการจะเกิดขึ้นในหกขั้นตอนต่อไปนี้:

  1. 1. การค้นพบ

ในขั้นตอนนี้ คุณจะได้รับการสนับสนุนนให้ทำการตรวจสอบความสามารถของโซลูชัน สร้างมูลค่าทางธุรกิจและผลประโยชน์ที่มันจะสามารถสร้างให้กับธุรกิจของคุณได้ ทั้งผู้บริหารและผู้จัดการระดับสูง (C-Level) และผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจะต้องสร้างจุดร่วมและพัฒนาแผนการนำมาใช้ รวมถึงแผนงานที่เกี่ยวข้อง

SAP จะช่วยให้คุณใช้ประโยชน์จากการทดลองใช้ SAP S/4HANA ฟรี เพื่อประเมินความสามารถของโซลูชัน และนำเสนอเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมมากมายสำหรับการตัดสินใจ เช่น SAP S/4HANA Journeymap, SAP S/4HANA Flipbook, SAP S/4HANA Community Network

  1. 2. การเตรียมการ

ขั้นตอนการเตรียมการเกี่ยวข้องกับการดำเนินการวางแผนเบื้องต้นและการเตรียมการสำหรับกระบวนการดำเนินการ ซึ่งเป็นเวลาที่คุณควรจัดสรรสำหรับการสรุปแผน การมอบหมายงานให้กับทีมที่รับผิดชอบและการจัดเตรียมขั้นตอนการเริ่มงาน

คุณควรสนับสนุนให้ทีมของคุณทำซ้ำหลายๆ ครั้งเพื่อปรับแต่งแผนโครงการและให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับกิจกรรมโครงการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึง:

  • การยืนยันเป้าหมายของโครงการ
  • ขอบเขตงานระดับสูง
  • การกำหนดขอบเขตบทบาทและความรับผิดชอบของโครงการที่ชัดเจน
  • ธรรมาภิบาลที่เข้มแข็งเพื่อขับเคลื่อนวงจรชีวิตโครงการ

การวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพคือแกนหลักของความสำเร็จในการดำเนินการ ดังนั้น ควรทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่าแผนโครงการของคุณได้คำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการดำเนินการไว้แล้ว

ในขั้นตอนนี้ คุณควรขอระบบ Starter สำหรับลูกค้า SAP S/4HANA Cloud และสร้าง IDS ผู้ใช้สำหรับสมาชิกในทีมทั้งหมด และตรวจสอบให้แน่ใจว่าทีมของคุณได้รับการอบรมเรียบร้อยแล้ว

  1. 3. การสำรวจ

ในระหว่างขั้นตอนการสำรวจ คุณต้องทำการวิเคราะห์ว่ามีความเหมาะสมกับมาตรฐาน (fit-to-standard) หรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานของโซลูชันถูกต้องตามที่ระบุไว้ในขอบเขตของโครงการหรือไม่ และเพื่อยืนยันว่าสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดทางธุรกิจได้

การวิเคราะห์ Fit-to-Standard ได้ถูกกำหนดไว้ให้เป็นชุดของการประชุมเชิงปฏิบัติการกับที่ปรึกษา SAP และมันจะสนับสนุนการอภิปรายที่มีประสิทธิผลเกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของสถานการณ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งได้ระบุไว้ก่อนหน้านี้ รวมทั้งจะเป็นการสำรวจการปรับปรุง/การกำหนดค่าเพิ่มเติมที่อาจจำเป็น เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนนี้ที่นี่

  1. 4. การเข้าใจ

เมื่อได้มีการระบุแผนการสมมติและข้อกำหนดของกระบวนการทั้งหมดแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องปรับ Agile sprints เพื่อกำหนดค่า สร้าง และทดสอบสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและระบบที่ผสานเข้ามาใหม่ ณ จุดนี้ ทีมของคุณควรเริ่มโหลดข้อมูลเข้าสู่ระบบ ร่างกิจกรรมในการนำไปใช้ และกำหนดแผนการย้ายระบบ โดยทั่วไปแล้ว กิจกรรมดังต่อไปจะเกิดขึ้นในช่วงของวงจรชีวิตโครงการนี้:

  • ปรับแต่งค่าโซลูชันในสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพโดยใช้การทำซ้ำแบบ Agile และงานที่คั่งค้างที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการสำรวจ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ทำการปรับแต่งค่าในกระบวนการแก้ไขปัญหาให้ตรงตามความต้องการทางธุรกิจของคุณ
  • ดำเนินการโหลดการย้ายข้อมูลในสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพ
  • ดำเนินการทดสอบระบบแบบ end-to-end อย่างเต็มรูปแบบ
  • หากมีความจำเป็น ทำการควบรวมระบบกับผลิตภัณฑ์ SAP และระบบเดิมอื่นๆ
  • ดำเนินการต่อกับทีมงานโครงการตามแนวคิดหลักและการทำงานของระบบ
  • เตรียมแผนการย้ายระบบและการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับแผน
  • ยอมรับสภาพแวดล้อมคุณภาพและการผลิต

คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนนี้ได้จากบล็อกของ SAP

  1. 5. การปรับใช้

ขั้นตอนการปรับใช้จะแสดงให้เห็นถึงการตั้งค่าระบบการผลิตและการยืนยันความพร้อมของบริษัทในการโยกย้ายการดำเนินธุรกิจไปยังสภาพแวดล้อมใหม่ ผู้จัดการโครงการจะยังคงต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบภารกิจทั้งหมดออกจากรายการ พร้อมทั้งบริหารความเสี่ยงและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

การส่งมอบที่สำคัญของขั้นตอนนี้คือการเรียนรู้ของผู้ใช้และการเตรียมการสำหรับการฝึกอบรม โดยจะต้องมีการกำหนดแผนการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง รวมทั้งจะต้องมีการนำแผนการย้ายระบบมาใช้เช่นกัน โดยทำการสรุปงานหลักๆ ที่จะต้องดำเนินการ เช่น จุดการตัดสินใจ go/no-go (ย้าย/ไม่ย้าย) การย้ายข้อมูล/การสร้างข้อมูลใหม่ และการตั้งค่าวัตถุที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ หลังจากดำเนินการย้ายระบบเสร็จสิ้นแล้ว คุณสามารถตั้งค่าระบบ SAP S/4HANA Cloud เป็นสถานะ Run (เริ่มดำเนินการ) และขั้นตอนนี้จะจบลงด้วยการปิดโครงการอย่างเป็นทางการ

  1. 6. ดำเนินการ

ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่จะทำการปรับใช้และใช้งานโซลูชันใหม่ของคุณต่อไปทั่วทั้งบริษัท เริ่มเพิ่มผู้ใช้ใหม่ สนับสนุนให้ทุกคนทำธุรกรรมทางธุรกิจและเปิดใช้งานฟังก์ชันซอฟต์แวร์เพิ่มเติมหากจำเป็น ทีมพัฒนาควรทำการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้น (regression testing) ควบคู่กันไปเพื่อการอัปเกรดรายไตรมาส เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังใช้ระบบเวอร์ชันล่าสุด

กรณีศึกษาจริงของการใช้งาน SAP HANA โดย Infopulse

ลูกค้าสร้างสามารถรายงานได้เร็วขึ้นถึง 90x ด้วยคลังข้อมูลแบบรวมศูนย์บน SAP HANA

ลูกค้าของเราซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษายักษ์ใหญ่ 1 ใน 4 ของสหรัฐฯ ทำการเก็บข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญของระบบ BI จำนวนมากในหลายแหล่ง ซึ่งเป็นผลทำให้กระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญของบริษัทช้าลง เช่น การสร้างรายงานที่ใช้เวลาถึง 15 ชั่วโมง Infopulse ได้สร้างคลังข้อมูลขนาด 10 TB แบบรวมศูนย์บน SAP HANA ซึ่งรวมเข้ากับระบบ BI ที่มีอยู่ทั้งหมดได้อย่างราบรื่น

ด้วยโซลูชั่นแบบนี้ เราจึงได้ช่วยให้ลูกค้าลดเวลาในการสร้างรายงานลงถึง 90x (ตอนนี้ใช้เวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น) ลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการข้อมูลและการบำรุงรักษา ปรับปรุงความพร้อมใช้งานของข้อมูลแบบเรียลไทม์ และลดความซับซ้อนในการเข้าถึงสำหรับพนักงานกว่า 200,000 ที่ใช้งานทุกวัน ยิ่งไปกว่านั้น เราได้พัฒนาระบบนิเวศของแอปพลิเคชัน BI โดยใช้แพลตฟอร์ม SAP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบธุรกิจที่สำคัญอีกด้วย

 

อ่านกรณีศึกษาในการนำ SAP HANA ไปใช้งาน ฉบับเต็มได้ที่นี่

สรุป

ประโยชน์ของ SAP สำหรับการดำเนินธุรกิจมีมากมายและสามารถปรับแต่งให้เหมาะกับแต่ละธุรกิจหรือองค์กรได้

หากคุณเคยถามตัวเองว่าซอฟต์แวร์ SAP คืออะไร ตอนนี้คุณมีคำตอบแล้ว

แล้วธุรกิจของคุณต้องการอะไร? คุณจะมองเห็นโซลูชันที่มาจากประโยชน์ของ SAP ได้อย่างไร?

หากคุณพร้อมที่จะสำรวจตัวเลือกทั้งหมดของคุณด้วย SAP แล้ว Infopulse ก็พร้อมที่จะพูดคุยกับคุณ เราเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเกี่ยวกับการนำโซลูชัน SAP ไปใช้งานสำหรับธุรกิจทุกขนาดและในหลากหลายภาคส่วน

สำหรับธุรกิจหน้าร้าน สนใจระบบ POS (Point of Sales)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save